วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อธิบายท้ายบท สนทนาภาษาจีนการทักทาย

อธิบายท้ายบท สนทนาภาษาจีนการทักทาย

หลังจากที่ได้ฝึกจากบทสนทนาไปแล้วเป็นยังไงกันบ้าง เจอเสียงซาวด์แทร็คกันจนหูชาแล้วหรือยัง(อย่าเพิ่งท้อนะ เพิ่งจะเริ่มเอง^^) ต่อไปก็จะเป็นการอธิบายข้อสงสัยและข้อควรรู้กัน

คำลงท้าย “ครับ” “คะ”
ไม่มีคํารับหรือคําลงท้ายเพื่อแสดงความสุภาพเหมือนในภาษาไทย สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาจีนบางคนจะไม่คุ้นเคยและรู้สึกว่าไม่สุภาพ บางคนจึงใส่คำว่า “ครับ” หรือ “คะ” ไว้ท้ายประโยคด้วย(เหมือนกับที่เราพูดภาษาอังกฤษเลยนะเนี่ย) ดังนั้นผู้เรียนควรจะทำความเข้าใจกับเอกลักษณ์ของภาษาจีนให้ถูกต้อง(เพราะถ้าพูดไปเดี๋ยวเขาจะงง แล้วจะยิ่งไปกันใหญ่)

“你好!” nǐ hǎo ! สวัสดี
“你好!” nǐ hǎo ! สวัสดี
เป็นคำทักทายทั่วไปที่สามารถใช้ในการทักทายได้ทุกเมื่อ ถ้าเป็นการทักทายกับผู้อาวุโสกว่าหรือเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาจะใช้คำว่า “您好!nín hǎo !”ซึ่งมีความหมายว่าสวัสดีเช่นกัน จุดสังเกตุก็อยู่ที่คำว่า你 nǐ ซึ่งแปลว่าเธอ ส่วน 您 nín แปลว่าคุณนั่นเอง

“你好吗?” nǐ hǎo ma? เธอสบายดีไหม
ถือเป็นประโยคทักทายพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการทักทายคนรู้จักเพื่อแสดงความเป็นห่วงเป็นใย และถ้าเป็นการทักทายกับผู้อาวุโสกว่าหรือเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาจะใช้คำว่า “您好吗?nín hǎo ma ?”

“早上好!” zǎoshang hǎo ! อรุณสวัสดิ์
ใช้สำหรับทักทายในยามเช้าเท่านั้น ยังมีคำอื่นๆที่ใช้สำหรับทักทายในยามเช้า เช่น“早安! zǎo'ān” “早! zǎo”คำเหล่านี้สามารถใช้ทักทายโดยลำพังได้และต่างก็มีความหมายว่าอรุณสวัสดิ์ นอกจากนี้ยังมีคำทักทายในช่วงเวลาอื่นๆดังต่อไปนี้
  • 上午好 shàngwǔ hǎo สวัสดียามเช้า
  • 下午好 xiàwǔ hǎo สวัสดียามเย็น
  • 晚上好 wǎnshang hǎo สวัสดีช่วงกลางคืน
  • 晚安 wǎn’ān ราตรีสวัสดิ์
คำเสริมท้าย儿 (ér)
ในภาษาจีนจะมีคำเสริมท้ายชนิดหนึ่งที่เรียกว่าคำเสริมท้าย儿 (ér) ซึ่งเมื่อนำไปประกอบกับคำศัพท์อื่นจะเขียนเฉพาะตัว “r” เท่านั้น และจะอ่านออกเสียงควบกับคำท้าย 

บางคำเมื่อเพิ่มคำเสริมท้าย儿 (ér) แล้วจะทำให้ชนิดของคำเปลี่ยนไป เช่น
  • 顶 dǐng ค้ำเอาไว้ เป็นคำกริยา
  • 顶儿 dǐngr ส่วนที่อยู่บนสุด เป็นคำนาม
  • 一点 yìdiǎn 1 นาฬิกา เป็นคำนามบอกเวลา
  • 一点儿 yìdiǎnr เล็กน้อย นิดหน่อย เป็นคำลักษณะนาม

บางคำมีความหมายแสดงว่ามีขนาดเล็ก เช่น
  • 小碗儿 xiǎo wǎnr จานใบเล็ก
  • 衣架儿 yījìar ไม้แขวนเสื้อเล็ก

บางคำมีความหมายแสดงว่าน่าเอ็นดู น่ารัก เช่น
  • 小鸟儿 xiǎo niǎor นกน้อย
  • 小猫儿 xiǎo māor แมวน้อย

โดยปกติคำเสริมท้าย儿 (ér)มักจะใช้ในภาษาพูดเป็นส่วนใหญ่ และแนวโน้มในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ที่น้อยลง บางครั้งก็ไม่พบความแตกต่างระหว่างการมีคำเสริมท้าย儿 (ér) ดังนั้นรู้ไว้ว่าเป็นหลักการแต่ในความเป็นจริงก็ไม่ถึงกับซีเรียสมากนัก

พักสักนิด อย่าเครียดกันนะจ๊ะ
กฏการผันเสียง“不”( bù ไม่ )
เมื่อ“不”อยู่หน้าเสียง4 จะต้องผันเป็นเสียง2 เช่น
  • bù bì ผันเป็น bú bì
  • bù nì ผันเป็น bú nì
(สงสัยไหมว่าแล้วจะผันทำไมกันเนี่ย เออ อันนี่ผู้เขียนคิดว่าเมื่อผันแล้วทำให้ดูรื่นหูขึ้นนะ)

กฏการผันเสียง3
เมื่อเสียง3 เรียงติดกับเสียง3 ด้วยกันจะต้องผันเสียง3 ตัวแรกให้เป็นเสียง2 เช่น
  • gǔzhǎng ผันเป็น gúzhǎng
  • zhǎnlǎn ผันเป็น zhánlǎn
(ผันเสียงอีกละ ใจเย็นๆ เริ่มต้นเรียนก็จำมากนิดนึง)

“很” hěn มาก
เป็นคำวิเศษณ์ที่บอกระดับให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น มีความหมายว่ามาก วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ เช่น
  • 很好 hěn hǎo ดีมาก
  • 很大 hěn dà ใหญ่มาก
รูปแบบการวางประโยตจะต่างกับไทย อย่าหลงเด็ดขาด

ตั้งใจเรียนกันหรือเปล่า
“太” tài มาก
เป็นคำวิเศษณ์ที่เป็นการบอกระดับเพื่อแสดงให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะวางไว้หน้าคำคุณศัพท์ เช่น
  • 不太好 bù tài hǎo ไม่ค่อยดี ไม่ดีสักเท่าไหร่
  • 不太大 bù tài dà ไม่ค่อยใหญ่ ไม่ใหญ่สักเท่าไหร่

นอกจากนี้มักจะนำมาใช้ในประโยคอุทานโดยจะมีคำว่า “了”(le แล้ว) ไว้ท้ายประโยค เช่น
  • 太好了! tài hǎo le ดีไปเลย เยี่ยมไปเลย
  • 太美了! tài měi le สวยเชียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น